แชร์

บริษัท(มหาชน) เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะได้อย่างไรบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 23 พ.ย. 2023
433 ผู้เข้าชม
บริษัท(มหาชน) เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะได้อย่างไรบ้าง

บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีบทบาทหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาปิดงบรายไตรมาส รายครึ่งปี หรือประจำปี บริษัทฯ ก็ต้องแถลงผลประกอบการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้แก่นักลงทุนและผู้ถือหุ้นให้ทันเวลา

ข้อมูลข่าวสารของบริษัทที่ควรสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนได้รับทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซื้อหุ้น มีหลากหลายประเภท ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของบริษัท เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ รายชื่อคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างองค์กร ข้อมูลทางการเงิน งบการเงิน คำอธิบายการวิเคราะห์ ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ การกำกับดูแลกิจการ รวมทั้งข้อมูลในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่น  ลำดับยอดขายของบริษัท สัดส่วนทางการตลาดของบริษัท ผลประกอบการและโอกาสเติบโตของบริษัท จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT)

หากได้พิจารณาดู จะเห็นว่าข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนมีอยู่มากมาย และหลากหลายประเภทที่จะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนด หลักในการเปิดเผยข้อมูล ของบริษัทจดทะเบียนให้เหมาะสม โดยแบ่งได้ตามนี้

เนื้อหาที่ต้องเปิดเผย : รายการตามรอบระยะเวลาบัญชี เช่น งบการเงินรายไตรมาส งบประจำปี  ONE REPORT ข่าวสารตามเหตุการณ์ที่มีผลต่อการลงทุนและหุ้น เช่น การเพิ่มทุน ปันผล การควบรวมกิจการ


เนื้อหาที่ควรเปิดเผย : ข่าวลือ ข่าวที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ข่าวจากบุคคลอื่น บริษัทจึงควรชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อทำความเข้าใจกับนักลงทุนและผู้ถือหุ้นให้ทันเวลา

เนื้อหาที่เลือกเปิดเผย : ทิศทางแนวโน้มธุรกิจของบริษัท และข่าวสารในแวดวงอุตสาหกรรมของบริษัท ประมาณการงบการเงิน โดยเปิดเผยได้เฉพาะประมาณการรายได้มากกว่า 6 เดือน

เนื้อหาที่ห้ามเปิดเผย : การให้ความเห็นชี้นำราคาหุ้น ประมาณการงบการเงินหรือคาดการณ์รายได้และกำไร ที่ใกล้กำหนดเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์  และการคาดการณ์ระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน เช่น การเพิ่มทุน จ่าย/ไม่จ่ายปันผล 
 

นักลงทุนสัมพันธ์ต้องจัดทำ นโยบายการเปิดเผยข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทร่วมกัน โดยข้อมูลที่เปิดเผยได้จะเป็นข้อมูลที่สามารถตอบทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเท่าเทียม และมีการกำหนดช่วงเวลาการไม่ให้ข่าว เพราะทุกข้อมูลของบริษัทมีผลด้านกฏระเบียบและกฏหมาย


ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ทุกเรื่องของการสื่อสารสำหรับนักลงทุนสัมพันธ์ ในการอบรมเรื่อง ก้าวสู่นักลงทุนสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยมด้านการสื่อสาร (The Best IR in Communication) ที่ครบถ้วนทุกด้านการสื่อสารของนักลงทุนสัมพันธ์ถึง 6 Module

-บทบาทของนักลงทุนสัมพันธ์ในบริษัทจดทะเบียน
-การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและเทคนิคการหาประเด็นสำคัญ
-สื่อสิ่งพิมพ์ในงานนักลงทุนสัมพันธ์และการเขียนเพื่อการสื่อสาร
-ช่องทางการเผยแพร่ (IR CHANNELS)
-กิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์
-แผนงานประจำปีและตัวชี้วัดความสำเร็จของ IR


นัดหมายการอบรมได้ทั้งแบบ IN-HOUSE และอบรมรายบุคคล ได้ที่ https://www.akdsolution.com/ir101นักลงทุนสัมพันธ์

ชยุต จึงภักดี
ผู้จัดการโครงการ
บริษัท เอเคดี โซลูชั่น จำกัด
E-mail : chayut.j@akdsolution.com
Mobile : 062-956-5162
WEB : www.akdsolution.com



บทความที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรที่ออกแบบเฉพาะบริษัท หรือ In-house โดยเน้น WORKSHOP
IN-HOUSE เป็นรูปแบบการอบรมที่บริษัทได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากร สามารถออกแบบหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการขององค์กร
18 พ.ย. 2024
ปลายปี นักประชาสัมพันธ์ เพิ่มทักษะ รับโอกาสขึ้นตำแหน่ง มีคอร์สอะไรบ้าง
การประชาสัมพันธ์เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มผลประกอบการให้กับธุรกิจ ดังนั้น AKD จึงขอส่งตารางอบรมการ PR ของเดือน ธ.ค.2567
7 พ.ย. 2024
AKD อบรม การเขียนสไตล์พีอาร์ยุคดิจิทัลมีเดีย ให้แก่ประชาสัมพันธ์ของอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ มช. หรือ STeP
เรียนรู้เทคนิคการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เขียนได้รวดเร็ว ตรงประเด็น และการปรึกษาเรื่องวางแผน PR การติดต่อสื่อมวลชน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์
12 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy